วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555
หน่วยการเรียนที่ 6 นวัตกรรมการเรียนการสอน
นวัตกรรมการเรียนการสอน ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดประสิทธิผล ในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู – อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู – อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ นั้น คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง ความหมาย คำจำกัดความของคำว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา” จึงหมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือ วิธีการใหม่ ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่ น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ถ้าส่งผลงานในลักษณะนี้ต้องมีเอกสารประกอบด้วย ความสำคัญ ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา ก็คือ สามารถนำมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ในวงการศึกษาสรุปได้ ดังนี้ 1. เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน เช่น 1.1 ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ครูส่วนใหญ่ยังคง ยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้น ความคิด และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย 1.2 ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็น นามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย 1.3 ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน และผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อ นำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้ 2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ ใน การเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู – อาจารย์ท่านอื่น ๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู– อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อ การสอนใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป ขั้นตอน 1. ขั้นเตรียมการและวางแผนในการจัดทำผลงาน จะต้องมีการ 1.1 กำหนดรูปแบบของผลงาน 1.2 กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา 1.3 กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา 2. ขั้นตอนการจัดทำผลงาน 2.1 นำหลักสูตร เนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ในวิชานั้นเป็นหลักใน การจัด 2.2 กำหนดโครงสร้างของผลงาน (ใช้ในภาคเรียนใดและแต่ละเรื่องจะ จัดทำสื่อเป็นจำนวนเท่าใดบ้าง) 3. ขั้นทดลองนำผลงานไปใช้ เช่น 3.1 ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 3.2 ควรมีการวิจัยสื่อที่จะนำไปทดลองใช้ เพื่อวัดประสิทธิภาพของสื่อที่ ผลิตขึ้นว่าสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน ในด้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนการสอนเพียงใด 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนั้น ควรจัดทำให้สามารถวัดผลได้อย่าง ชัดเจน 4. ขั้นนำผลงานไปใช้ - ควรอธิบายกรรมวิธีในการนำไปใช้ได้อย่างละเอียดและเป็นขั้นตอน 5. ผลของการนำไปใช้ - อธิบายให้เห็นว่าสิ่งประดิษฐ์นั้น สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือ นำไปเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง 6. ขั้นการเผยแพร่และสร้างการยอมรับ - เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าสื่อนวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้น มีประโยชน์ อย่างแท้จริงต่อการเรียนการสอน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเผยแพร่ เพื่อให้เกิดการยอมรับในวงการศึกษา ขั้นตอนนี้ ควรอธิบายโดยละเอียดว่า ได้มีการเผยแพร่ที่ใด หรือใน ลักษณะใดบ้าง โดยอาจแบ่งประเภทให้เห็นชัดเจนว่า - การเผยแพร่ในโรงเรียน - การเผยแพร่แก่สาธารณะในวงการศึกษา รูปแบบนวัตกรรม นวัตกรรมสามารถจัดทำได้หลายรูปแบบ เช่น - แผนการสอน - ชุดการสอน - คู่มือครู - บทเรียนสำเร็จรูป - สไลด์ - ใบความรู้ ทุกรูปแบบต้องมีคู่มือในการใช้สื่อด้วย - สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ - เกม - ฯลฯ เทคนิคในการจัดทำ 1. ในการผลิตสื่อการสอน ควรเน้นในเรื่องความประหยัดและให้เกิด ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน (ทำจริง – ใช้จริง – มีประโยชน์ต่อนักเรียนจริง) 2. ต้องมีคู่มือในการใช้สื่อและสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถให้รายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ - จุดประสงค์ในการสร้างสื่อ - วัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่าย - รูปแบบที่ต้นแบบ - วิธีการทำ/ ผลิต / ประดิษฐ์ - การทดลองใช้/ การปรับปรุงแก้ไข - ประโยชน์/ การนำไปใช้ - คุณภาพ / ประสิทธิภาพ / - หลักฐานการนำไปใช้ เทคนิคการสอนแบบ CIPPA การเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง:โมเดลซิปปา ใน ปัจจุบันแนวการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางได้เข้ามามี บทบาทในการจัดการศึกษาทั้งในประเทศและในต่างประเทศ แนวความคิดในการจัดการศึกษานี้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้โดยการกระทำ(Learning by Doing)ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติในกิจกรรมที่หลากหลาย มีส่วนร่วมและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของผู้เรียน โมเดลซิปปา(CIPPA MODEL) เป็น การเรียนการสอนที่เป็นแนวคิดหลักที่เป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนโดย ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางซิปปานี้พัฒนาขึ้นโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขม มณี อาจารย์ประจำภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักการศึกษาผู้มีประสบการณ์สอนและการนิเทศการสอน ได้กล่าวว่า แนว คิดในการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาไทยมีมานานแล้ว แต่ยังไม่เกิดผลในการปฏิบัติที่เป็นน่าพอใจ ครูจำนวนมาก ขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดแนวทางที่ชัดเจนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยเหตุผลนี้ ทิศนา แขมมณี จึงได้เสนอแนวคิดและแนวทางในการนำไปปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญกับการให้ผู้เรียนเป็นจุดสนใจ (Center of attention) หรือ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญ กล่าวคือ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หากผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นมาก ผู้เรียนก็จะเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนรู้มาก และควรจะเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นตามมา แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้ผู้เรียนมีส่วนเรียนร่วมอย่างผูกพัน ทิศนา แขมมณี (2543) ได้เสนอไว้ดังนี้ กิจกรรม การเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียน ได้มีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย คือ กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อช่วยให้ประสาท รับรู้ของผู้เรียนตื่นตัว พร้อมที่จะรับข้อมูลสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้น ตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน แนวคิด การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ ความหมาย การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดประสบการณ์ให้แก่นักเรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง วัตถุประสงค์ การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน 1. มีประสบการณ์โดยตรง 2. ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง 3. รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ มีขั้นตอน 4. ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี 5. ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา 6. ได้รู้จักวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา 7. ฝึกวิเคราะห์ และประเมินตนเอง ประเภทของโครงงาน 1. โครงงานแบบสำรวจ 2. โครงงานแบบทดลอง 3. โครงงานสิ่งประดิษฐ์ 4. โครงงานทฤษฎี รูปแบบการจัดทำโครงงาน 1. ชื่อโครงงาน 2. คณะทำงาน 3. ที่ปรึกษา 4. แนวคิด / ที่มา / ความสำคัญ 5. วัตถุประสงค์ / จุดมุ่งหมาย 6. ขั้นตอนการดำเนินงาน / วิธีการศึกษา 7. แหล่ง / สถานศึกษา (ถ้ามี) 8. วัสดุ อุปกรณ์ 9. งบประมาณ 10. ระยะเวลาการดำเนินงาน 11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขั้นตอนในการสอนทำโครงงาน การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมี 4 ขั้นตอน คือ 1. กำหนดความมุ่งหมายและลักษณะโครงงานโดยตัวนักเรียนเอง 2. วางแผนหรือวางโครงงาน นักเรียนต้องช่วยกันวางแผนว่าจะทำอะไร ใช้วิธีการหรือกิจกรรมใด จึงจะบรรลุจุดมุ่งหมาย 3. ขั้นดำเนินการ ลงมือทำกิจกรรมหรือแก้ปัญหา 4. ประเมินผล โดยประเมินว่ากิจกรรมหรือโครงงานนั้นบรรลุผลตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ มีข้อบกพร่อง และควรแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร วิธีการทำโครงงาน 1. ประชุมปรึกษาหารือ เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับหัวข้อของโครงงาน จากสิ่งต่อไปนี้ - การสังเกต หรือตามที่สงสัย - ความรู้ในวิชาต่าง ๆ - จากปัญหาใกล้ตัว หรือการเล่น - คำบอกเล่าของผู้ใหญ่ หรือผู้รู้ 2. เขียนหลักการ เหตุผล ที่มาของโครงงาน 3. ตั้งวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน 4. กำหนดวิธีการศึกษา เช่น การสำรวจ การทดลอง เป็นต้น 5. นำผลการศึกษามาอภิปรายกลุ่ม 6. สรุปผลการศึกษา โดยการอภิปรายกลุ่ม 7. ปรับปรุงชื่อโครงงาน ให้ครอบคลุม น่าสนใจ การประเมินผลการทำโครงงาน ครูผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินการทำโครงงานของนักเรียนแต่ละกลุ่ม โดยใช้แบบประเมินแผนผังโครงงานพิจารณาตามรายละเอียดดังนี้ 1. ชื่อเรื่องแสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 2. ชื่อเรื่องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาคำถามมีการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิด 3. สมมติฐานมีการแสดงถึงพื้นฐานความรู้เดิม 4. วิธีการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา 5. แหล่งศึกษาสามารถค้นคว้าคำตอบได้ 6. วิธีการนำเสนอชัดเจน เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลา การสอนให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง (Student Centered Learning) โดย คำนิยามที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เป็นการเรียนการสอนตามความต้องการของนักศึกษา ซึ่งแต่ละคนมีความต้องการแตกต่างกัน จึงอาจเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องเรียนขนาดใหญ่ การวิจัยพบว่าการสอนวิธีนี้ทำให้นักศึกษาสนใจเรียนมากขึ้น เพราะเป็นเรื่องที่เขาต้องการเรียน เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของเขา ทำให้มีแรงจูงใจให้เรียนรู้ โดยครูเป็นผู้ประสานความรู้เพื่อให้นักเรียนไปถึงจุดหมาย ครูจะต้องมองว่า เราสอนใคร เพื่อให้เขาทำอะไร และ จะสอนอย่างไร หากรู้พื้นฐานนักเรียน (สอนใคร) ก็จะสามารถจัดกระบวนการสอนให้สอดคล้องกับพื้นฐานเขาได้ และการสอนต้องให้เขาตระหนักในประโยชน์ (เพื่ออะไร) จากนั้นจึงดำเนินการสอน (อย่างไร) ให้สอดคล้องและได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งวิธีการสอนแบบให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง น่าจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง วิธีการเสนอแนะในการสอนแบบนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง 1. อาจารย์แจกเค้าโครงรายวิชาให้นักศึกษา โดยอาจารย์ไม่สอน แต่แนะแนวทางให้นักศึกษาคิดและ แก้ปัญหา นักศึกษาจะต้องอ่านหนังสือมาก่อน นักศึกษาเป็นผู้ออกแบบเนื้อหา กำหนดเนื้อหาเอง ซึ่งการวัดผล จะต้องใช้ ข้อสอบที่มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องยากพอสมควร 2. การเรียนแบบโครงงาน โดยในวิชานั้นนักศึกษาจะต้องทำโครงงานย่อย 4 โครงการ ใช้เวลาโครงการละ 2 สัปดาห์ นักศึกษาจะต้องตั้งปัญหาในแต่ละโครงการแล้วเชื่อมต่อโครงการกับทฤษฎีที่อาจารย์เสนอแนะไว้ แต่ก่อนปิดรายวิชาอาจารย์ต้องสรุปและเสริมเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของรายวิชา ประเด็นเสนอแนะปลีกย่อย 1. ครูต้องเก่งมากจึงจะเป็นผู้ประสานวิชาการอันหลากหลายได้ 2. น่าจะปฏิรูปมหาวิทยาลัยให้เป็น Student Centered Service เสียด้วย คือให้นักศึกษาบริการตนเองในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะฝึกให้นักศึกษารู้จักรับผิดชอบมากขึ้น 3. วิธีนี้สามารถทำได้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา แต่หากเป็นระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยจะต้องควบคุมขนาดชั้นเรียน และกำหนดทิศทางในการจัดการเรียนการสอนให้ชัดเจน 4. ความยากคือการตรวจงาน การประเมิน วิธีที่น่าทดลองคือ ให้เด็กตรวจงานกันเอง 5. น่าจะมีชั้นเรียนทดลองวิธีนี้ อาจารย์ท่านใดต้องการทดลองโปรดแจ้งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ 6. อาจทดลองให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดเนื้อหาวิชาสัก 10 - 20 % 7. พอทำได้ในชั้นปีที่ 3 – 4 เนื่องจากนักศึกษามีความรู้พื้นฐานที่จะบูรณาการได้แล้ว ส่วนในชั้นปีที่ 1 – 2 นั้น อาจทำไม่ได้ 8. สำหรับห้องเรียนขนาดใหญ่ รศ.ดร.ทวิช ทดลอง ใช้วิธีแบ่งกลุ่มทำการบ้านและตรวจการบ้านกันเองโดยการสลับกลุ่ม โดยเฉลยให้เฉพาะหลักการ นับว่าเป็นการเรียนแบบนเป็นศูนย์กลางในระดับหนึ่งและอีกรูปแบบหนึ่ง วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย (Lecture) 1.วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย (Lecture) ความหมาย วิธี สอนโดยใช้การบรรยายคือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนด โดยการพูด บอก เล่า อธิบาย สิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนซักถาม แล้วประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง วัตถุประสงค์ เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้เรียนรู้เนื้อหาสาระหรือข้อความรู้จำนวนมากพร้อมๆ กันได้ในเวลาที่จำกัด ขั้นตอนสำคัญของการสอน 1. ผู้สอนเตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรยาย 2. ผู้สอนบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย ) เนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ 3. ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน 2.วิธีสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration) 1. แนวคิด เป็น วิธีสอนที่ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใกล้เคียงกับประสบการณ์ตรงมากที่สุด ซึ่งเป็นการสอนที่ผู้สอนแสดงให้ดูหรือผู้เรียนมีโอกาสได้กระทำด้วยตนเอง ทำให้การเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และตรงกับแนวคิดของกรวยประสบการณ์ที่ เอดก้า เดล ได้กล่าวไว้ดังนี้ 2. ลักษณะสำคัญ วิธี สอนแบบสาธิตเป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนรู้ ประสบการณ์ แนวทาง เช่น การฟัง การดู การสัมผัสแตะต้อง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ให้การเรียนรู้ค่อนข้างสมบูรณ์ 3. วัตถุประสงค์ 1. ให้ผู้เรียนได้รับรู้หลาย ๆ ด้าน เช่น ทางตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส 2. มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์กว้างขึ้น 3. ให้ผู้เรียนได้เข้าใจลำดับขั้นต่าง ๆ และสามารถสรุปผลได้ 4. เป็นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติไปพร้อมกับวิธีการสอนวิธีอื่น ๆ ด้วยได้ 4. จำนวนผู้เรียน การ สาธิตเป็นการแสดงให้ดู การลองทำหรือผู้เรียนได้มีโอกาสปฏิบัติ ดังนั้นการจัดกลุ่มผู้เรียนต้องไม่มากเกินไป เช่น 5-7 คน หรือน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการจัดกลุ่มผู้เรียนจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย วิธีการสาธิต สถานที่ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสาธิต 5. ระยะเวลา ระยะ เวลาของการสาธิตขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการจัดเนื้อหา เรื่องราวที่จะสาธิตเป็นสำคัญหากมีขั้นตอนและเนื้อหามาก การสาธิตก็ต้องใช้เวลานาน หรืออยู่ที่วิธีการสาธิต บางอย่างผลของการสาธิตต้องอาศัยเวลานานจึงจะเห็นผลที่เกิดขึ้น แต่กิจกรรมสาธิตบางเรื่องสามารถเน้นผลได้ในทันที 6. ลักษณะห้องเรียน การสอนแบบสาธิต อาจจะแบ่งลักษณะของห้องเรียนหรือสถานที่ได้ 3 รูปแบบ คือ 6.1 การสาธิตในห้องทดลอง กระบวนการสาธิตในลักษณะนี้จะต้องอาศัยอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องทดลอง เช่น การสาธิตเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ การผสมสารเคมี ซึ่งต้องใช้ความละเอียดอ่อนและขั้นตอน ผู้สาธิตต้องรู้และเข้าใจกระบวนการสาธิตเป็นอย่างดี เพราะรูปแบบการสาธิตวิธีนี้บางครั้ง หากทำผิดพลาดอาจจะเกิดเรื่องเสียหายได้ 6.2 การสาธิตในห้องเรียน รูปแบบการสาธิตวิธีนี้อาจจะเป็นการสาธิตเรื่องราวต่าง ๆ ของบทเรียนที่มี ไม่จำเป็นต้องทำในห้องทดลอง และบางครั้งก็ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย เช่น การสาธิต วิธีการ การสาธิตท่ายืน เดิน นั่ง การสาธิตท่ากราบไหว้ที่ถูกต้อง เป็นต้น 6.3 การสาธิตนอกห้องเรียน การสาธิตรูปแบบนี้อาจจะต้องใช้สถานที่นอกห้องเรียน เช่น สนามกีฬา หรือในแปลงสาธิตทางการเกษตร เป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยสถานที่ หรือบริเวณกว้างขวางกว่าห้องเรียน 7. ลักษณะเนื้อหา รูป แบบการสอนแบบสาธิตสามารถใช้ได้กับเนื้อหาในทุกวิชา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสอน และผู้สอนวิเคราะห์แล้ว การใช้กิจกรรมการสาธิตจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดีที่สุด เช่น การทดลองวิทยาศาสตร์ การสาธิตวิธีการประกอบอาหาร หรือการสาธิตการเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายในท่าที่ถูกต้อง ฯลฯ จะสังเกตได้ว่าเป้าหมายของการสอนแบบสาธิตคือ ต้องการให้ผู้เรียนได้เน้นกระบวนการของเรื่องหนึ่งเรื่องใด เพื่อที่ผู้เรียนจะได้นำไปปฏิบัติได้ 8. บทบาทผู้สอน วิธี สอนแบบสาธิตส่วนใหญ่จะเป็นบทบาทของผู้สอนมากกว่าผู้เรียน ทั้งนี้การสอนแบบสาธิตจะมีลักษณะใกล้เคียงกับการแสดงโดยต้องการทำให้ดู และการบอกให้เข้าใจ บางครั้งเรื่องที่สาธิตนั้นอาจจะมีขั้นตอนหรือต้องอาศัยความชำนาญการในการทำ หรือบางครั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการสาธิตนั้นมีราคาแพง หรือแตกหักชำรุดง่าย ผู้สอนจึงต้องเป็นผู้ทำเสียเอง อย่างไรก็ตามการสาธิตที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมด้วย โดยเฉพาะหากการเรียนการสอนเน้นอยู่ที่ตัวผู้เรียน ผู้เรียนต้องมีโอกาสได้สาธิตด้วยตนเองให้มากที่สุดเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรง 9. บทบาทผู้เรียน วิธี สอนแบบสาธิตโดยทั่วๆ ไป ผู้เรียนจะมีบทบาทน้อยเป็นเพียงผู้ดูและผู้ฟัง อาจจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย เท่านั้น แต่การสาธิตที่ดีต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ยิ่งถ้ามีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงด้วยคือ มีโอกาสได้ปฏิบัติภายหลังการสาธิตด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น 10. ขั้นตอนการสอน ก่อนการสาธิต มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้ 1. การกำหนดวัตถุประสงค์ ของการสาธิตให้ชัดเจนว่าการสาธิตนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไรการสาธิตบางอย่าง เป็นการสาธิตกระบวนการเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการ ขั้นตอน เช่น การสาธิต ขั้นตอนการยิงลูกโทษ การสาธิตการเตะตะกร้อ และการสาธิตบางเรื่องต้องการสาธิตให้เกิดผลตามที่ต้องการ เช่น การสาธิตในห้องทดลอง 2. การเตรียมการ ผู้สอนต้องเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการสาธิต เตรียมขั้นตอนการสาธิตซึ่งวิธีการเตรียมที่ถูกต้องคือ ต้องลองสาธิตดูก่อน เป็นการตรวจสอบว่าขั้นตอนเหล่านั้นถูกต้องหรือไม่ หากเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นก็มีโอกาสแก้ไขได้ก่อน ขณะทำการสาธิต ผู้สอนควร อธิบายหรือบรรยายให้ผู้เรียนเข้าใจเสียก่อน โดยเฉพาะควรจะบอกวัตถุประสงค์ของการสาธิตให้ผู้เรียนได้ทราบ หลังจากนั้นจึงนำเข้าสู่การสาธิต โดยการอธิบายให้ฟังหรือใช้สื่อต่าง ๆ อาจจะเป็นสไลด์ประกอบคำบรรยายหรือวีดิทัศน์ หรือวิธีการที่ผู้สอนทั่วไปใช้คือ การให้ผู้เรียนได้ศึกษามาก่อน โดยให้ไปอ่านเอกสาร หนังสือ หรือค้นคว้าเรื่องราวที่สาธิตนั้นก่อน ก็จะทำให้การสาธิตดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วและผู้เรียนเข้าใจได้ชัดเจน ใน ขณะสาธิตผู้เรียนสาธิตต้องดำเนินการสาธิตไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ อาจจะสลับด้วยการบรรยายแล้วสาธิต วิธีที่จะทำให้บรรยากาศการสาธิตเป็นไปด้วยความตื่นเต้น ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสาธิตตลอดเวลา อาจจะเป็นการถามนำ กระตุ้น หรือให้ผู้เรียนช่วยสาธิตเรื่องราวบางเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนหรือมีขั้น ตอนยุ่งยาก ผู้สาธิตก็ต้องสาธิตหลาย ๆ ครั้ง หรือให้ผู้เรียนทำตามไปด้วยเป็นขั้น ๆ ผู้สอนจะต้องชี้แนะหรือเน้นย้ำในส่วนที่สำคัญตลอดเวลา ดังนั้นการวางแผนสาธิตจำเป็นต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ภายหลังการสาธิต เมื่อ การสาธิตจบลงแล้ว การย้ำเน้นเรื่องราวที่สาธิตไม่ว่าจะเป็นการสาธิตกระบวนการหรือสาธิตผู้สอน ก็ต้องให้มีการสรุป ทั้งนี้ผู้ดูหรือผู้เรียนเป็นผู้สรุปเอง โดยมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนกัน หรือบางครั้งการจัดอาจจะจบลงด้วยการสรุปโดยวีดิทัศน์ หรือสไลด์ประกอบเสียง โดยการสอบถาม แจกแบบสอบถาม แบบทดสอบ ทั้งนี้อยู่ที่ระยะเวลาที่เหลือ 11. สื่อการสอนแบบสาธิต การ สอนแบบสาธิตก็เช่นเดียวกับวิธีการสอนแบบอื่น ๆ ที่สามารถนำสื่อในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ได้ แต่ส่วนใหญ่การสาธิตนั้นหากเป็นการสาธิตที่ไม่ใช้วัสดุ อุปกรณ์ใด ๆ ตัวผู้สอนจะเป็นสื่อที่สำคัญ ดังนั้นผลของการสาธิตจะบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่จึงขึ้นอยู่กับผู้สอน แต่แนวทางที่จะให้การสอนแบบสาธิตเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การออกแบบการสอนแบบสาธิตซึ่งต้องให้ผู้เรียนมีบทบาทมากขึ้น จึงต้องให้ผู้เรียนมีบทบาทตั้งแต่ก่อนการสาธิตจนกระทั่งหลังการสาธิต 12. การวัดและประเมินผล การ สอนแบบสาธิตส่วนใหญ่ผู้สอนหรือผู้สาธิตจะมีบทบาทในการประเมิน อาจจะโดยการสังเกต วิเคราะห์คำตอบว่าผู้เรียนเข้าใจหรือไม่เพียงใด แต่การประเมินที่ดีคือการให้ผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถาม 13. ข้อดีและข้อจำกัด ข้อดี 1) ทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง 2) ทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายและจดจำเรื่องที่สาธิตได้นาน 3) ทำให้ผู้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง 4) ทำให้ประหยัดเงินและประหยัดเวลา 5) ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ข้อจำกัด 1) หากผู้เรียนมีจำนวนมากเกินไปก็อาจทำให้การสังเกตไม่ทั่วถึง 2) ถ้าผู้เรียนเตรียมการมาไม่ดีเมื่อเวลาสาธิตวนไปวนมาหรือสาธิตไม่ชัดเจนก็ทำให้ได้ผลไม่ดี 3) ถ้าการสาธิตนั้นเน้นที่ผู้สอนโดยผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติเลย ผู้เรียนก็อาจจะได้ประสบการณ์น้อย 4) บางครั้งการสาธิตที่เยิ่นเย้อก็ทำให้เสียเวลา 14. การปรับใช้การสอนสาธิตโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ขั้นเตรียมการสาธิต ผู้ สอนต้องเตรียมการให้ดี ไม่ว่าการเตรียมเนื้อหา บทบาทการสาธิตส่วนใหญ่จะเป็นของผู้สอนแต่เนื้อหาหรือจุดมุ่งหมายในส่วนใดที่ ต้องการให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ทัศนคติ บทบาทในส่วนนั้นจะเน้นที่ผู้เรียนมากกว่าผู้สอน การเตรียมกระบวนการ เตรียมสื่อที่จะสาธิต และเตรียมกิจกรรมที่จะสาธิตต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เมื่อสาธิตจบแล้วควรมีการวางแผนว่าจะทำกิจกรรมอะไรต่อไปโดยให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมมากที่สุด ขั้นการสาธิต ผู้สอนควรใช้วิธีการสื่อสารสองทาง คือ มีทั้งผู้สาธิตเป็นคนทำ แต่ในบางครั้งก็ให้ผู้เรียนมีส่วนช่วยสาธิต อธิบายหรือตอบคำถาม ผู้สาธิตควรใช้สื่ออื่น ๆ ที่เร้าความสนใจได้มากกว่าคำพูดประกอบ เช่น ของจริง ของตัวอย่าง แผ่นโปร่งใส สไลด์ หรือภาพฉาย ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวบนจอ ในขณะสาธิตจะต้องเน้น ต้องย้ำ การที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตอบสนอง (Feedback) ตลอดเวลา เช่น การซักถาม การอธิบายเสริม การได้มีกิจกรรมเสริมอื่น ๆ เช่น การแสดงบทบาทสมมุติ สถานการณ์จำลอง การเล่นเกม ผู้สาธิตพยายามให้ผู้ดูมีส่วนร่วมมากที่สุด ที่สำคัญผู้สาธิตต้องมีความสามารถที่จะต้องจูงใจให้ผู้เรียนติดตามตลอดเวลา การจูงใจทำได้หลายวิธี เช่น การถามตอบ การให้เพื่อนช่วยเพื่อน ช่วยเสริมซึ่งกันและกัน เป็นต้น ภายหลังการสาธิต ผู้เรียนควรมีโอกาส ทำกิจกรรมเสริมอื่น ๆ ที่จะช่วยเน้นย้ำ เรื่องราวที่ได้เห็นการสาธิตมาเพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นในเรื่อง ที่เรียนและจำได้นาน ส่วนการประเมินการสาธิตถ้ามีโอกาสก็ควรให้ผู้เรียนได้รู้ว่ามีความเข้าใจ หรือรู้เรื่องที่ได้เห็นการสาธิตมาเพียงใด ซึ่งการวัดและประเมินในส่วนนี้ถ้าทำได้ทุกครั้งก็จะเป็นการดี แต่ถ้าไม่มีเวลาอาจจะไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้ง แต่ในส่วนของผู้สอนนั้นอาจจะประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่าสนใจ หรือเอาใจใส่เพียงใด การประเมินจะเป็นวิธีการพัฒนาการสาธิตของผู้สอนได้เป็นอย่างดี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)